Thursday, January 17, 2013

มงคล 38 ประการ


มงคล ๓๘ ประการ



   มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งมี ๓๘ ประการได้แก่

๑. การไม่คบคนพาล
๒. การคบบัญฑิต
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร
๕. เคยทำบุญมาก่อน
๖. การตั้งตนชอบ
๗. ความเป็นพหูสูต
๘. การรอบรู้ในศิลปะ
๙. มีวินัยที่ดี
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
๑๑.การบำรุงบิดามารดา
๑๒.การสงเคราะห์บุตร
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา
๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง
๑๕.การให้ทาน
๑๖.การประพฤติธรรม
๑๗.การสงเคราะห์ญาติ
๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ
๑๙.ละเว้นจากบาป
๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
๒๒.มีความเคารพ
๒๓.มีความถ่อมตน
๒๔.มีความสันโดษ
๒๕.มีความกตัญญู
๒๖.การฟังธรรมตามกาล
๒๗.มีความอดทน
๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย
๒๙.การได้เห็นสมณะ
๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
๓๑.การบำเพ็ญตบะ
๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์
๓๓.การเห็นอริยสัจ
๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส
๓๘.มีจิตเกษม


เสียงธรรม มงคลชีวิต 38 ประการ
โดย พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ)
วัดโสมนัสวิหาร กรุงเทพฯ

มงคลที่ 1.ไม่คบคนพาล
อย่าคบมิตร ที่พาล สันดานชั่ว
จะพาตัว เน่าดิบ จนฉิบหาย
แม้ความคิด ชั่วช้า อย่ากล้ำกราย
เป็นมิตรร้าย ภายใน ทุกข์ใจครัน

มงคลที่ 2.การคบบัณฑิต
ควรคบหา บัณฑิต เป็นมิตรไว้
จะช่วยให้ พ้นทุกข์ สบสุขสันต์
ความคิดดี เลิศล้ำ ยิ่งสำคัญ
ควรคบกัน อย่าเขว ทุกเวลา

มงคลที่ 3.การบูชาบุคคลที่ควรบูชา
ควรบูชา ไตรรัตน์ ขัตติเยศร์
ผู้วิเศษ ก่อเกื้อ เหนือเกศา
ครูอาจารย์ เจดีย์ ที่สักการ์
ด้วยบุปผา ปฏิบัติ สวัสดิ์การ

มงคลที่ 4.การอยู่ในถิ่นอันสมควร
เป็นเมืองกรุง ทุ่งนา หรือป่าใหญ่
ทางมา-ไป ครบครัน ธัญญาหาร
มีคนดี ที่ศึกษา พยาบาล
ปลอดภัยพาล ควรอยู่กิน ถิ่นนั้นแล

มงคลที่ 5.เคยทำบุญมาก่อน
กุศลบุญ คุณล้ำ เคยทำไว้
จะส่งให้ สวยเด่น เช่นดวงแข
ทั้งทรัพย์ยศ ไมตรี มีเย็นแด
เพราะกระแส บุญเลิศ ประเสริฐนัก

มงคลที่ 6 การตั้งตนชอบ
ต้องตั้งตน กายใจ ในทางถูก
เร่งฝังปลูก ตนไว้ ให้ถูกหลัก
เมื่อตัวตน ยังมี เป็นที่รัก
ควรพิทักษ์ ให้งาม ตามเวลา

มงคลที่ 7 ความเป็นพหูสูต
การสนใจ ใฝ่คว้า หาความรู้
ให้เป็นผู้ แก่เรียน เพียรศึกษา
มีศีลดี สติมั่น เกิดปัญญา
ย่อมนำพา ตัวรอด เป็นยอดดี

มงคลที่ 8 การรอบรู้ในศิลปะ
ศิลปะ ต่างอย่าง ทางอาชีพ
ควรเร่งรีบ เรียนรู้ ชูศักดิ์ศรี
มีบางคน จนอับ กลับมั่งมี
ฉลาดดี มีศิลป์ หากินพอ

มงคลที่ 9 มีวินัยที่ดี
อันวินัย นำระเบียบ สู่เรียบร้อย
คนใหญ่น้อย เปรมปรีดิ์ ดีนักหนา
วินัยสร้าง กระจ่างข้อ ก่อศรัทธา
เพราะรักษา กติกา พาร่วมมือ

ไม่พูดเท็จ พูดสอดเสียด และพูดมาก
ละความยาก สร้างวิบาก ฝากยึดถือ
คนหมู่มาก มักถางถาก ปากข่าวลือ
ต้องสัตย์ซื่อ ถือวินัย ใช้ร่วมกัน

มงคลที่ 10 กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต
เปล่งวจี สัจจะ นวลละม่อม
กล่าวเลลี้ยกล่อม ไพเราะ กาลเหมาะสม
เจือประโยชน์ เมตตา ค่านิยม
รื่นอารมณ์ ผู้ฟัง ดังเสียงทอง

มงคลที่ 11 การบำรุงบิดามารดา
คนที่หา ได้ยาก มากไฉน
เพราะว่าใน โลกนี้ มีเพียงสอง
คือพ่อแม่ เกิดเกล้า เหล่าลูกต้อง
ตอบสนอง พระคุณ ได้บุญแรง

มงคลที่ 12 การสงเคราะห์บุตร
เป็นมารดา บิดา ทำหน้าที่
ให้บุตรมี พำนัก เป็นหลักแหล่ง
ส่งเสริมบุตร ธิดาตน กุศลแรง
ย่อมส่องแสง เพิ่มพูน ตระกูลวงศ์

มงคลที่ 13.การสงเคราะห์ภรรยา
มีคู่ครอง ต้องไม่ทำ ให้ช้ำจิต
จะพาผิด ไปข้าง ทงผุยผง
ต้องสงเคราะห์ แก่กัน ให้มั่นคง
รักยืนยง ด้วยกัน ถึงวันตาย

มงคลที่ 14.ทำงานไม่คั่งค้าง
จะทำงาน การใด ตั้งใจมั่น
อย่าผัดวัน ทำเล่น เช้า เย็น สาย
ไม่ทิ้งคา อากูล มากมูลมาย
เร่งคลี่คลาย ให้เสร็จ สำเร็จการ

มงคลที่ 15.การให้ทาน
ควรบำเพ็ญ ซึ่งทาน คือการให้
ท่านว่าไว้ สวยงาม สามสถาน
หนึ่งให้ของ สองธรรมะ ขนะมาร
อภัยทาน ที่สาม งามเหลือเกิน

มงคลที่ 16.การประพฤติธรรม
การประพฤติ ตามธรรม คำพระสอน
ไม่เดือดร้อน ถอนทุกข์ ยามฉุกเฉิน
คนรักธรรม ธรรมรักษ์คน ผลเจริญ
นั่ง,ยืน,เดิน นอน,สุข ทุกข์ไม่มี

มงคลที่ 17.การสงเคราะห์ญาติ
เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้อง
ควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี
เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี
หากถึงที เราจน ญาติสนใจ

มงคลที่ 18 ทำงานไม่มีโทษ
งานรับจ้าง ล้างชาม ก็ตามเถิด
หากไม่เกิด โทษทัณฑ์ นั่นสดใส
เมื่อได้ช่อง ต้องจำ กระทำไป
ได้กำไร ทุกทาง ไม่ว่างงาน

มงคลที่ 19 ละเว้นจากบาป
กรรมชั่วช้า ลามก ต้องยกเว้น
หากขืนเล่น ด้วยกัน ถูกมันผลาญ
งดเว้นบาป กำราบให้ ไกลสันดาน
ในดวงมาลย์ ไม่ร้อน และอ่อนเพลีย

มงคลที่ 20 สำรวมจากการดื่มน้ำเม
ของมึนเมา ทุกชนิด พิษคล้ายเหล้า
ใครเสพเข้า น่าตำหนิ สติเสีย
เกิดโรคร้าย แรงร้อน กายอ่อนเพลีย
ใครงดเสีย เป็นสุข ไปทุกวัน

มงคลที่ 21 ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย
ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม
คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน
ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน
ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน

มงคลที่ 22 มีความเคารพ
ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์
ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน
ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร
ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง

มงคลที่ 23 มีความถ่อมตน
ไม่พองลม ก้มหัว เจียมตัวด้วย
มรรยาทสวย นิ่มนวล สิ้นส่วนแข็ง
เหมือนงูพิษ ถอดเขี้ยว หมดเรี่ยวแรง
ยามแถลง นอบน้อม พร้อมใจกาย

มงคลที่ 24 มีความสันโดษ
ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของ
เช่นเงินทอง ของตน แม้ล้นหลาย
เมื่อมีน้อย จ่ายน้อย ค่อยสบาย
ความจนหาย เลยลับ กลับมั่งมี

มงคลที่ 25 มีความกตัญญู
กตัญญู รู้บุญ คุณพ่อแม่
คนเฒ่าแก่ แลอาจารย์ ท่านทรงศีล
จอมมุนินทร์ ปิ่นเกล้า เจ้าธานี
หาวิธี แทนคุณ สมดุลกัน

มงคลที่ 26 การฟังธรรมตามกาล
การฟังธรรม ตามกาล ผ่านมาถึง
ควรคำนึง นิ่งนั่ง ฟังขยัน
ย่อมจะเกิด ปัญญา สารพัน
ตั้งใจมั่น ฟังดี นี่สมควร

มงคลที่ 27 มีความอดทน
ความอดทน ตรากตรำ ยามลำบาก
เจ็บไข้มาก ทนได้ ไม่โหยหวน
ถูกเขาด่า ให้ฟัง นั่งหน้านวล
ยิ้มเสสรวล ด้วยขันติ งามวิไล

มงคลที่ 28 เป็นผู้ว่าง่าย
ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน
ก่อรำคาญ ค่ำเช้า ไม่เข้าไหน
ไม่ซัดโทษ ของตน ให้คนใด
เมื่อมีใคร สอนพร่ำ ให้นำมา

มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ
การพบเห็น สมณะ ผู้สงบ
แล้วนอบนบ ถามไถ่ ไตรสิกขา
หมั่นฝึกหัด ทุกวัน ด้วยปัญญา
ย่อมชักพา จิตตรง มงคลมี

มงคลที่ 30 การสนทนาธรรมตามกาล
ยามหดหู่ ฟุ้งซ่าน กาลสงสัย
เป็นสมัย ไต่ถาม ตามเหตุผล
เพื่อบรรเทา คลี่คลาย หายกังวล
ควรจะสน- ทนาธรรม ตามที่ควร

มงคลที่ 31 การบำเพ็ญตบะ
พึงบำเพ็ญ ตบะ ละกิเลส
อันเป็นเหตุ หักห้าม กามฉันท์
มุ่งทำลาย ถ่ายบาป สาบสูญพันธุ์
เข้าสู่ขั้น สุโข ฌาณโกลีย์

มงคลที่ 32 การประพฤติพรหมจรรย์
เร่งประพฤติ พรหมจรรย์ อันประเสริฐ์
เพื่อให้เกิด สุขล้วน โดยถ้วนถี่
ตั้งแต่ทาน ถึงสิกขา บรรดามี
สมบูรณ์ดี พรหมจรรย์ ย่อมมั่นคล

มงคลที่ 33 การเห็นอริยสัจ
การรู้เห็น ความจริง สิ่งเที่ยงแท้
ไม่ผันแปร สี่ชนิด ไม่ผิดหลง
ตัดตัณหา มูลราก พรากทุกข์ลง
เป็นการส่ง ข้ามฟาก จากสาคร

มงคลที่ 34 การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ทำให้แจ้ง นิพพาน ผลาญสังโยชน์
ตรวจตราโทษ ธาตุ ขันธ์ หมั่นฝึกถอน
เอาอรหัต มรรคญาณ เผาราญรอน
ดับทุกข์ร้อน นิพพาน สำราญนัก

มงคลที่ 35 การมีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
ท่านผู้ใด ใจดำรง อยู่คงที่
ในเมื่อมี โลกธรรม ครอบงำหนัก
เช่น ลาภ ยศ สุข เศร้า เข้าง้างชัก
มิอาจยัก โยกท่าน ให้หวั่นใจ

มงคลที่ 36 การมีจิตไม่โศกเศร้า
คราวพลักพราก จากญาติ ขาดชีวิต
ถูกพิชิต จองจำ ทำโทษใหญ่
มีสติ คุมจิต เป็นนิตย์ไป
ไม่เสียใจ โศกเศร้า เฝ้าประคอง

มงคลที่ 37 มีจิตปราศจากกิเลส
หมดราคะ โทสะ โมหะแล้ว
จิตผ่องแผ้ว เลิศดี ไม่มีสอง
ย่อมมีค่า สูงจริง ยิ่งเงินทอง
เหมือนสูริย์ส่อง ท้องฟ้า สง่างาม

มงคลที่ 38 มีจิตเกษม
จิตเกษม เปรมปรีดิ์ ดีตลอด
เป็นจิตปลอด จากโอฆ ในโลกสาม
เครื่องผูกมัด สลัดหมด แสนงดงาม
เข้าถึงความ สุขสันต์ นิรันดร

คณะสงฆ์ ใช้หลักธรรม อบรมเยาวชนให้เป็นคนดี

คณะสงฆ์  ใช้หลักธรรม อบรมเยาวชนให้เป็นคนดี

คณะสงฆ์ ใช้หลักธรรม อบรมเยาวชนให้เป็นคนดี


พระ ศรีสุทธิเวที รองเจ้าคณะจังหวัดพะเยา เปิดเผยว่า บทบาทหน้าที่ของคณะสงฆ์พะเยา นอกจากการเป็นผู้เผยแผ่พระธรรม ยังมีบทบาทช่วยเหลือประชาชนในสังคม กล่อมเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความสงบ โดยเฉพาะเยาวชนที่เป็นกลุ่มวัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยคึกคะนองอยากรู้อยากเห็นในสิ่งต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายในสังคมต้องช่วยกันดูแลและขัดเกลาให้เป็นบุคคลที่ พึงประสงค์ของสังคมต่อไปในอนาคต

หลายครั้งที่ทางวัดในจังหวัดพะเยา ได้เข้าร่วมโครงการกับภาครัฐอบรมเยาวชน ให้ความรู้ใช้พระธรรมเป็นเครื่องเตือนสติให้วัยรุ่นเกิดความสงบทางจิตใจ หากไม่ประสงค์จะบวชเรียนก็มีระบบการเรียนการสอนของฆราวาสไว้รองรับ หรือวัยรุ่นชายจำนวนมากที่เกิดความสงบหลังเข้ารับการขัดเกลาจิตใจจากพระสงฆ์ แล้วตัดสินใจบวชเรียน

"ดังนั้น การให้โอกาสผู้อื่นไม่เพียงแต่คณะสงฆ์เท่านั้น หากแต่ทุกกลุ่ม ทุกภาคในสังคมต้องตระหนักและช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้สังคมน่าอยู่ยิ่งขึ้น โดยเฉพาะโอกาสทางการศึกษา หากไม่สามารถเรียนทางโลกได้ทางธรรมก็ยินดีต้อนรับเสมอ ขอเพียงมีจิตใจที่มุ่งมั่น"

นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวว่า กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ มีความยินดีที่จะร่วมงานกับคณะสงฆ์จังหวัดพะเยา ช่วยเหลือเยาวชนวัยรุ่น เห็นว่าการใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา หรือหลักธรรมของศาสนาต่างๆ เข้ามาช่วยขัดเกลาจิตใจจะทำให้เกิดความมีสติและสงบได้ ถือเป็นแนวทางการใช้พระธรรมขัดเกลาจิตใจของเยาวชนวัยรุ่น ทั้งนี้ กรมมีโครงการช่วยเหลือเด็กที่เรียนดีแต่ขาดโอกาส ได้สนับสนุนให้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา โดยโครงการดังกล่าวจะคัดเลือกเด็กกลุ่มเป้าหมายจังหวัดละ 4 คน ระดับ ม.ต้น 2 คน และ ม.ปลาย 2 เข้าเรียนในโรงเรียนวัด นุ่งขาวห่มขาว ฝึกสมาธิไปด้วย รายละเอียดสามารถติดต่อที่หน่วยงานในสังกัดของกรม แต่ละจังหวัดได้ตามความสะดวก

อธิฐานธรรม 4

ธรรม

บารมี 6
เป็นหลักธรรมอันสำคัญที่จะนิยมมาซึ่งความรักใคร่นับถือ นับว่าเป็นหลักธรรมที่เหมาะมาก
สำหรับนักบริหารจะพึงยึดถือปฎิบัติ มีอยู่  6  ประการคือทาน
1.  ทาน การให้เป็นสิ่งที่ควรให้
2.  ศีล การประพฤติในทางที่ชอบ
3.  ขันติ ความอดทนอดกลั้น
4.  วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร
5.  ฌาน การเพ่งพิจารณาให้เห็นของจริง
6.  ปรัชญา ความมีปัญญารอบรู้

ขันติโสรัจจะ
เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม  (ธรรมทำให้งาม)
1ขันติ  คือ  ความอดทน มีลักษณะ 3  ประการ
             1.1 อดใจทนได้ต่อกำลังแห่งความโกรธแค้นไม่แสดงอาการ กาย  วาจา  ที่ไม่น่ารักออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่ผู้อื่น
             1.2 อดใจทนได้ต่อความลำบากตรากตรำหรือความเหน็ดเหนื่อย
2.  โสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม ทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง

ธรรมโลกบาล
เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองโลก หรือมวลมนุษย์ให้อยู่ความร่มเย็นเป็นสุข มี 2 ประการคือ
1.  หิริ ความละอายในตนเอง
2. โอตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อทุกข์ และความเสื่อมแล้วไม่กระทำความชั่ว

อธิฐานธรรม  4
เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิตย์   เพื่อเป็นเครื่องนิยมนำจิตใจให้เกิดความรอบรู้ความจริง
รู้จักเสียสละ  และบังเกิดความสงบ มี 4 ประการ
1. ปัญญา ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ รู้ในวิชา
2. สัจจะ ความจริง คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริงไม่ทำอะไรจับจด
3. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือ สละความเกียจคร้าน หรือความหวาดกลัว
ต่อความยุ่งยาก ลำบาก
4.  อุปสมะ  สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ คือ ยับยั้งใจมิให้ปั่นป่วนต่อความพอใจ
รักใคร่ และความขัดเคืองเป็นต้น

คหบดีธรรม 4
เป็นหลักธรรมของผู้ครองเรือนพึงยึดถือปฏิบัติ  มี 4 ประการ คือ
1.  ความหมั่น
2.  ความโอบอ้อมอารี
3.  ความไม่ตื่นเต้นมัวเมาในสมบัติ
4.  ความไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อเกิดภัยวิบัติ

ราชสังคหวัตถุ 4
เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องช่วยในการวางนโยบายบริหารบ้านเมืองให้ดำเนินไปด้วยดี
มี 4  ประการ คือ
1. ลัสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดปรีชาในการพิจารณาถึงผลิตผลอันเกิดขึ้นในแผ่นดิน  แล้วพิจารณาผ่อนผันจัดเก็บเอาแต่บางส่วนแห่งสิ่งนั้น
2. ปุริสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดในการดูคนสามารถเลือกแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในความถูกต้องและเหมาะสม
3.  สัมมาปาลัง การบริหารงานให้ต้องใจประชาชน
4. วาจาเปยยัง  ความเป็นบุคคลมีวาจาไพเราะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวตามเหตุการณ์
ตามฐานะและตามความเป็นธรรม

ทศพิธราชธรรม 10 ประการ

ธรรม
ธรรม
ธรรม
สังคหวัตถุ 4
เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของกันและกันเห็นเหตุให้ตนเอง และหมู่คณะก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง
1. ทาน ให้ปันสิ่งของแก่คนที่ควรให้
2. ปิยวาจา เจรจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน
3. อัตถจริยา ประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์
4. สมานนัตตตา วางตนให้เหมาะสมกับฐานะของตน


อิทธิบาท 4
เป็นหลักธรรมถือให้เกิดความสำเร็จ
1. ฉันทะ ความพึงพอใจในงาน
2. วิริยะ ความขยันมั่นเพียร
3. จิตตะ ความมีใจฝักใฝ่เอาใจใส่ในงาน
4. วิมังสา ไตร่ตรองหาเหตุผล

ทศพิธราชธรรม  10  ประการ
เป็นหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์จะพึงถือปฏิบัติมาแต่ โบราณกาลแด่นักบริหาร  เช่น สรรพสามิตจังหวัด  สรรพสามิตอำเภอ  ก็น่าจะนำไปอนุโลมถือปฏิบัติได้
หลักทศพิธราชธรรม  10  ประการ  มีอยู่ดังนี้
1.  ทาน  คือ การให้ปัน  ซึ่งอาจเป็นการให้เพื่อบูชาคุณหรือให้เพื่อเป็นการอนุเคราะห์
2.  ศีล  ได้แก่การสำรวม  กาย  วาจา ใจ ให้เรียบร้อยสะอาดดีงาม
3.  บริจาค  ได้แก่  การให้ทรัพย์สิ่งของเพื่อเป็นการช่วยเหลือหรือความทุกข์ยากเดือดร้อน
ของผู้อื่นหรือเป็นการเสียสละเพื่อหวังให้ผู้รับได้รับความสุข
4.  อาชวะ  ได้แก่  ความมีอัธยาศัยซื่อตรงมั่นในความสุจริตธรรม
5.  มัทวะ  ได้แก่  ความมีอัธยาศัยดีงาม ละมุนละไม อ่อนโยน สุภาพ
6.  ตบะ ได้แก่  การบำเพ็ญเพียรเพื่อขจัดหรือทำลายอกุศลกรรมให้สิ้นสูญ
7.  อโกรธะ  ได้แก่  ความสามารถระงับหรือขจัดเสียได้ซึ่งความโกรธ
8.  อวิหิงสา ได้แก่  การไม่เบียดเบียนคนอื่น
9.  ขันติ  ฃได้แก่  ความอดกลั้นไม่ปล่อยกาย วาจา ใจ  ตามอารมณ์หรือกิเลสที่เกิดมีขึ้นนั้น
10. อวิโรธนะได้แก่  การธำรงรักษาไว้ซึ่งความยุติธรรม

หลักธรรมของนักบริหาร

ธรรม
ธรรม
ธรรม 
ธรรม ของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา) ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี 4 ประการ คือ
พรหมวิหาร 4
1. เมตตา ความรักใคร่ ปรารถนา จะให้ผู้อื่นมีความสุข
2. กรุณา ความสงสาร คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
3. มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
4. อุเบกขา วางตนเป็นกลาง ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ มีทุกข์

ธรรม
ธรรม
ธรรม 
อคติ 4
อคติ หมายความว่า การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม มี 4 ประการ
1. ฉันทาคติ ลำเอียงเพราะรักใคร่
2. โทสาคติ ลำเอียงเพราะโกรธ
3. โมหาคติ ลำเอียงเพราะเขลา
4. ภยาคติ ลำเอียงเพราะกลัว
อคติ 4 นี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่ ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม