Thursday, January 17, 2013

อธิฐานธรรม 4

ธรรม

บารมี 6
เป็นหลักธรรมอันสำคัญที่จะนิยมมาซึ่งความรักใคร่นับถือ นับว่าเป็นหลักธรรมที่เหมาะมาก
สำหรับนักบริหารจะพึงยึดถือปฎิบัติ มีอยู่  6  ประการคือทาน
1.  ทาน การให้เป็นสิ่งที่ควรให้
2.  ศีล การประพฤติในทางที่ชอบ
3.  ขันติ ความอดทนอดกลั้น
4.  วิริยะ ความขยันหมั่นเพียร
5.  ฌาน การเพ่งพิจารณาให้เห็นของจริง
6.  ปรัชญา ความมีปัญญารอบรู้

ขันติโสรัจจะ
เป็นหลักธรรมอันทำให้บุคคลเป็นผู้งาม  (ธรรมทำให้งาม)
1ขันติ  คือ  ความอดทน มีลักษณะ 3  ประการ
             1.1 อดใจทนได้ต่อกำลังแห่งความโกรธแค้นไม่แสดงอาการ กาย  วาจา  ที่ไม่น่ารักออกมาให้เป็นที่ปรากฏแก่ผู้อื่น
             1.2 อดใจทนได้ต่อความลำบากตรากตรำหรือความเหน็ดเหนื่อย
2.  โสรัจจะ  ความสงบเสงี่ยม ทำจิตใจให้แช่มชื่นไม่ขุนหมอง

ธรรมโลกบาล
เป็นหลักธรรมที่ช่วยคุ้มครองโลก หรือมวลมนุษย์ให้อยู่ความร่มเย็นเป็นสุข มี 2 ประการคือ
1.  หิริ ความละอายในตนเอง
2. โอตัปปะ  ความเกรงกลัวต่อทุกข์ และความเสื่อมแล้วไม่กระทำความชั่ว

อธิฐานธรรม  4
เป็นหลักธรรมที่ควรตั้งไว้ในจิตใจเป็นนิตย์   เพื่อเป็นเครื่องนิยมนำจิตใจให้เกิดความรอบรู้ความจริง
รู้จักเสียสละ  และบังเกิดความสงบ มี 4 ประการ
1. ปัญญา ความรู้ในสิ่งที่ควรรู้ รู้ในวิชา
2. สัจจะ ความจริง คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริงไม่ทำอะไรจับจด
3. จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแห่งความจริงใจ คือ สละความเกียจคร้าน หรือความหวาดกลัว
ต่อความยุ่งยาก ลำบาก
4.  อุปสมะ  สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกต่อความสงบ คือ ยับยั้งใจมิให้ปั่นป่วนต่อความพอใจ
รักใคร่ และความขัดเคืองเป็นต้น

คหบดีธรรม 4
เป็นหลักธรรมของผู้ครองเรือนพึงยึดถือปฏิบัติ  มี 4 ประการ คือ
1.  ความหมั่น
2.  ความโอบอ้อมอารี
3.  ความไม่ตื่นเต้นมัวเมาในสมบัติ
4.  ความไม่เศร้าโศกเสียใจเมื่อเกิดภัยวิบัติ

ราชสังคหวัตถุ 4
เป็นหลักธรรมอันเป็นเครื่องช่วยในการวางนโยบายบริหารบ้านเมืองให้ดำเนินไปด้วยดี
มี 4  ประการ คือ
1. ลัสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดปรีชาในการพิจารณาถึงผลิตผลอันเกิดขึ้นในแผ่นดิน  แล้วพิจารณาผ่อนผันจัดเก็บเอาแต่บางส่วนแห่งสิ่งนั้น
2. ปุริสเมธัง ความเป็นผู้ฉลาดในการดูคนสามารถเลือกแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งในความถูกต้องและเหมาะสม
3.  สัมมาปาลัง การบริหารงานให้ต้องใจประชาชน
4. วาจาเปยยัง  ความเป็นบุคคลมีวาจาไพเราะรู้จักผ่อนสั้นผ่อนยาวตามเหตุการณ์
ตามฐานะและตามความเป็นธรรม

0 comments:

Post a Comment